เรื่องง่ายๆ
ในเมืองแห่งหนึ่งบนเกาะซิซิลีของอิตาลี มีคนโทรศัพท์ไปแจ้งตำรวจว่าพบของชิ้นสำคัญในบ้านตน
ครั้นตำรวจไปตรวจ กลับเห็นเขาเสียชีวิตแล้ว ลักษณะเหมือนยิงตัวตาย
และตำรวจก็ต้องการให้เป็นเรื่องง่ายๆ เช่นนั้น จะได้ปิดคดีเร็วๆ แต่เรื่องง่ายๆ
กลับกลายเป็นคดีฆาตกรรมสุดแสนซับซ้อน ท้าทายระบบความยุติธรรมของบ้านเมือง
เรื่องง่ายๆ นวนิยายสืบสวนเล่มสุดท้ายของ เลโอนาร์โด ชัชชา นักเขียนและปัญญาชนคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของอิตาลีผู้ที่
อิตาโล คัลวีโน ได้อ่านต้นฉบับของเขาก่อนใครแทบทุกเรื่องในฐานะบรรณาธิการและเพื่อน
และเคยกล่าวถึงเขาว่า เป็น “นักเขียนหนุ่มที่เฉียบแหลมมาก”
Reviews
“เป็นนิยายสืบสวนสอบสวนที่มีผู้ร้ายคือกระบวนการสืบหาความจริง”
— วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์
ด้วยความที่เรื่องนี้สั้น การตัดฉากที่ฉับไว และโยนตัวละครเข้ามาด้วยเทคนิคของนิยายแนวสืบสวนทำให้เราถูกเหตุการณ์เร้าใจไปตลอดจนกระทั่งถึงจุดที่เป็น climax ที่ผู้เขียนจงใจเราพาไปขยี้ จิตใจและความคิดของเราจะถูกพาไปสู่ความฟินจากความเท่ของตัวละครจนท้ายสุดเราจะร้องเฮ้ย!!! ออกมา แล้วกลับไปเริ่มอ่านใหม่อีกครั้ง และตรงนี้เองที่เราจะรู้ตัวว่านิยายเรื่องนี้ผู้เขียนจงใจเขียนให้เราอ่านซ้ำในทันที และความยาวของเรื่องก็จะถูกทำให้ยาวขึ้นโดยไม่ต้องเปลืองหน้ากระดาษ (ไม่ต้องเชื่อนะ ของแบบนี้มันต้องโดนเองง) …อ่านต่อ
— Flat14
“เมื่อถึงช่วงหนึ่งของชีวิต ความหวังไม่ใช่สิ่งสุดท้ายที่จะตาย แต่ความตายคือความหวังสุดท้าย”
เลโอนาร์โด ชัชชา เล่าเรื่องคดีฆาตกรรมได้น่าติดตาม ที่สำคัญคือ กระชับ ไม่มีรายละเอียดเวิ่นเว้อ อ่านถึงตอนจบแล้วต้องย้อนกลับไปพลิกอ่านตอนต้นใหม่ โดยส่วนตัวชอบฉากดวลปืนในโรงพักมาก
— Blackdogsworld on goodreads
ไม่คิดว่าเรื่องการไขคดีแบบนี้จะไปได้ดีกับการเล่าอย่างสั้นๆ แต่ยังคงสนุก และเก็บทุกเม็ด ชอบการหยอดมุกจิกกัด และสะท้อนถึงการกระบวนการทำงานของตำรวจอีกด้วย คงต้องบอกว่าหนังสือเล่มนี้คมและกระชับมากๆ
— Tok on goodreads
“ตึง”
รู้สึกถึงแรงกระเพื่อมในร่างตอนเฉลย เป็นการอ่านเรื่องสั้นที่ง่ายๆ เร็วๆ ไม่ทันตั้งตัว เหมือนถูกยิงด้วยปืนแม็กนั่ม นัดเดียวแต่หวังผลได้แน่นอน
— Topu Apple on goodreads
“เรื่องง่ายๆ” ตีแผ่ความพิกลของกระบวนการทำงานในระบบราชการ การเมืองภายในกรมฯ/กองฯ และลำดับชั้นทางสังคม ผ่านการสืบสวนคดีฆาตกรรมที่ชวนตื่นเต้น อ่านจบแล้วก็ยังไม่วายต้องอ่านซ้ำ (นี่คือสิ่งที่ผู้เขียนออกแบบไว้อย่างตั้งใจ) ถึงแม้ว่าทั้งหมดจะเป็นเรื่องราวของระบบราชการในประเทศอิตาลี แต่ในแง่หนึ่งก็เหมือนได้เห็นภาพละม้ายในระบบราชการบ้านเราไปด้วย …อ่านต่อ
— Whale&Rabbit Library