บันทึกในกลักไม้ขีด
รวมบทความเล่มสุดท้ายของ อุมแบร์โต เอโค เขียนระหว่างปี 2000 – 2015
“เมื่อก่อนด้านในของกลักไม้ขีดไฟยี่ห้อ Minerva เป็นพื้นที่ว่างทั้งส่วนบนและล่าง
เราจะจดอะไรลงไปในนั้นก็ได้ ผมจึงตั้งใจให้บทความเหล่านี้
เป็นบันทึกเกร็ดสารพันเรื่องตามแต่ผมจะนึก
“ทุกเรื่อง (หรือเกือบทุกเรื่อง) ที่รวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้
น่าจะเป็นการพิเคราะห์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ใน ‘สังคมไหล’ (Liquid Society)
“ด้วยความผิดของกาลเวลามากกว่าของผม เนื้อหาจึงไม่ปะติดปะต่อกัน
เหมือนที่คนฝรั่งเศสพูดว่า มีตั้งแต่เรื่องไก่ยันเรื่องลา”
— อุมแบร์โต เอโค
Reviews
บันทึกในกลักไม้ขีด โดย อุมแบร์โต เอโค นักปรัชญาอิตาเลียน เป็นรวมบทความสั้นๆ วิพากษ์สังคมไหล คัดมาจากบทความในระหว่างปี 2543-2558 รวม 35 ชิ้น ขนาดอ่านเร็วๆ ยังกระแทกโดนหน้าแงทุกชิ้น เชื่อมั้ย อ่านไปก็คิดถึง อ. เจตนา นาควัชระ ของไทยไป เพราะทุกความคิดทำให้เราพยักหน้าร้องอือๆ ไปด้วย บางเรื่องเราก็รู้สึกอยู่แล้วแต่คิดประเด็นไม่เฉียบ มีทั้งโลกสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตและมือถือ รวมทั้งหนังสือและพฤติกรรมมนุษย์สมัยใหม่ บทความแกแสบๆ คันๆ และตอนจบถ้าไม่หัวเราะก็หงายท้องไปเลย ชอบๆ อ้อ! แต่ อ. เจตนาของเราเขียนยาวกว่าเยอะเลย ของเอโค นี่กล่องไม้ขีดขนาดเล็ก แต่ของ อ. เจตนาคงกล่องไม้ขีดขนาดใหญ่ ชื่อบทความ เช่น เราประดิษฐ์อะไรมากมายจริงหรือ, การสูญเสียความเป็นส่วนตัว, อาจารย์มีประโยชน์อะไร, พันธมิตรของบิน ลาเดน, มนุษย์เราหิวคำนำ, เราบ้ากันหมดทุกคนหรือ เป็นต้น
— ชมัยภร แสงกระจ่าง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ปี 2557
ดังนั้น การอ่าน Eco โดยตระหนักถึงทั้งอคติของเราและของเขาอยู่เสมอ จะทำให้ ‘บันทึกในกลักไม้ขีด’ เป็นงานเขียนที่สนุกและ เอร็ดอร่อย กับมุมมองจิกกัด ภาษา ศิลปะ และการเปรียบเปรยคมๆ ที่หาไม่ได้อีกแล้วในโลกออนไลน์ …อ่านต่อ
— โตมร ศุขปรีชา
แม้ว่าสิ่งที่เอโคกำลังทำอยู่เป็นการชี้ให้เราเห็นอะไรบางอย่างที่เขาคิดว่าคนในสังคมไม่เห็น แต่มันกลับปราศจากท่าทีของการสั่งสอน ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักปรัชญา เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่เมื่อเขามาอยู่ในบทบาทของคอลัมนิสต์ เขาสามารถสลัดทิ้งภาพเหล่านั้นออกจากตัวเขาให้เหลือเพียงภาพของตาลุงวายร้ายนักอ่านทันโลก …อ่านต่อ
— แมท ช่างสุพรรณ
ตามอ่านมาตั้งแต่เล่ม วิธีเดินทางกับแซลมอน เพราะชอบลีลาการเสียดสีและมุกตลกเล็กๆน้อยๆ
ความเรียงในเล่มนี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การอ่าน สังคมยุคใหม่ หนังสือในอนาคต และการรู้จักเลือกสรรข้อมูลที่น่าเชื่อถือท่ามกลางข้อมูลปริมาณมหาศาล
เล่มนี้เราให้ห้าดาวเลย เพราะว่ามันมาตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องหนังสือและการอ่านในใจเราตอนนี้พอดี
ความเรียงยาวตอนละสามสี่หน้านี้ มองเผินๆ ก็น่าจะเขียนง่าย แต่จริงๆแล้วไม่ง่าย
เขียนสั้นให้สื่อสารลงตัวและครอบคลุมแบบนี้ เชื่อมโยงสิ่งยากมาสู่สิ่งง่ายในชีวิตประจำวัน
อ่านแล้วอยากเขียนได้แบบนี้บ้าง เราว่านี่คือความเรียงที่โคตรมีชั้นเชิง และกลั่นจากประสบการณ์หลายปีของคนวรรณคดีที่สนใจใฝ่รู้หลากหลายด้าน รักลุง
แว่วว่า สนพ. อ่านอิตาลี บอกว่าอาจมีเล่มต่อไปของลุงอีก เรานี่รอเลย 🙂
เล่มนี้ทำให้เราคิดในหัวว่า ความเรียงเจ๋งๆ มันต้องแบบนี้ดิ!
— นิชานันท์ นันทศิริศรณ์ on Goodreads
อ่านสนุก แซะเก่ง เเต่มันคือเรื่องจริง
ช่วยเปลี่ยนมุมมองต่อการใช้โซเชียลมีเดีย และการท่องเที่ยวของเราไปเลย
— Khattiya Homthong on Goodreads