ตาสว่าง
Il Re di Bangkok
Claudio Sopranzetti, Chiara Natalucci  เขียน
Sara Fabbri  วาดภาพปกและภาพประกอบ
นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ  แปล
วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์  บรรณาธิการเล่ม
ณขวัญ ศรีอรุโณทัย  รูปเล่มและออกแบบปก
วิญญู กู่กาสิงห์  พิสูจน์อักษร
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2563
ISBN: 978-616-93487-0-2
เนื้อในพิมพ์ 4 สี จำนวน 224 หน้า ราคา 395 บาท


ตาสว่าง

เขา ‘ตาบอด’ เพราะกระสุนนัดหนึ่งฝังในกะโหลก แต่กลับ ‘ตาสว่าง’ เพราะกระสุนนัดเดียวกันนี้ และทันทีที่ตาสว่าง เขากลับพบว่าประเทศที่ตนอาศัยอยู่ช่างมืดมน ไม่มีทางออก ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีสิ่งซึ่งสามารถไว้วางใจ ทุกสิ่งที่เคยมองเห็นล้วนแต่เป็นเพียง ‘ภาพลวงตา’

ตาสว่าง หรือ IL RE DI BANGKOK คือนิยายภาพ (graphic novel) ที่ดัดแปลงจากเหตุการณ์จริง ฉากหลังของเรื่องเกิดในประเทศไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึง ทศวรรษ 2550 งาน fiction ชิ้นนี้คือส่วนผสมระหว่างการศึกษาด้านมานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย ศิลปะการประพันธ์ และงานกราฟิก องค์ประกอบเหล่านี้ได้สร้างความหมายกระทบใจในเชิงกวีนิพนธ์

คณะผู้แต่ง ตาสว่าง ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านมานุษยวิทยาในประเทศไทยเป็นเวลาสิบปี บวกกับบทสัมภาษณ์กว่าร้อยชั่วโมง โดยได้เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2558 จัดทำคลังข้อมูลทั้งในรูปแบบของภาพถ่ายและฟิล์มภาพยนตร์ กว่า 5,000 รายการ โดยใช้เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ หอภาพยนตร์ และงานสะสมส่วนบุคคลของนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ทั้งหมดนี้เพื่อกอปรสร้างชีวิตของ ‘นก’ มอเตอร์ไซค์รับจ้างชาวอุดรธานีผู้เข้ามาแสวงหาชีวิตที่ดีในเมืองหลวงช่วงกลางทศวรรษ 2520 ชีวิตของนกถูกเหวี่ยงด้วยแรงลมของการเมืองที่พัดเพในแต่ละยุคสมัย แต่เขากลับรู้สึกมีอิสระดุจนกบิน หรืออาจจะตระหนักเพียงว่าเกิดเป็นนกก็ต้องบิน แต่แรงลมของการเมืองนี้เองได้ดูดดึงเขาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับคนเสื้อแดง ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพในสิทธิของตน เสรีภาพของตน ตื่นรู้ ตระหนักถึงตัวตนทางการเมือง อิสระดุจนกก่อนหน้านี้คือ ‘ภาพลวงตา’ ก่อนที่ลมจะพัดพรากทุกสิ่งไปหลังสูญเสียดวงตาจากการสลายการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดง ปี 2553 และ ‘ภาพลวงตา’ กลับมาตอกย้ำภาวะ ‘ตาสว่าง’ อีกครั้งหลังรัฐบาลที่เขาสนับสนุนชนะการเลือกตั้งในปี 2554

ทันทีที่ตาสว่าง เขากลับมองเห็นประเทศที่ตนอาศัยอยู่ช่างมืดมน ไม่มีทางออก ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีสิ่งซึ่งสามารถไว้วางใจ ทุกสิ่งที่เคยมองเห็นล้วนแต่เป็นเพียง ‘ภาพลวงตา’

กระสุนทำให้เขา ‘ตาบอด’ และ ‘ตาสว่าง’ ภายในนัดเดียว เหมือนนายพรานยิงปืนหนึ่งนัดได้นกสองตัว ชีวิตเพียงหนึ่งชีวิตของชาวอีสานผู้นี้กลายเป็นการบอกเล่าชะตากรรมของคนในสังคมไทยได้ทั้งประเทศ เรื่องราวในนิยายภาพเป็นประหนึ่งบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองของสังคมไทย แม้ตัวละคร ‘ตาบอด’ ในเรื่องจะ ‘ตาสว่าง’ แต่ยังไม่มี ‘แสงสว่าง’ ของประเทศ ไม่ว่าจะในหรือนอกนิยายภาพเล่มนี้


Reviews

“อ่านจบแล้วอดสะเทือนใจไม่ได้ เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องแบบเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไม่ประดิษฐ์ประดอย ฉายภาพให้เห็นการเดินทาง ความทุกข์ ความฝัน และที่มาที่ไปของปรากฎการณ์ “ตาสว่าง” ของสามัญชนที่ไม่อาจหวนกลับไปเหมือนเดิม เป็นหนังสือนิยายภาพที่ทำให้เข้าใจความรุนแรงของรัฐไทย ความรุนแรงเชิงโครงสร้างของสังคมไทย และความขัดแย้งอันร้าวลึกในแผ่นดินสยามได้ลึกกว่าตำราวิชาการจำนวนมาก”…อ่านต่อ
ผศ. ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ


“กระบวนการจัดทำหนังสือเล่มนี้น่าทึ่งไม่แพ้เนื้อหา ชอบลายเส้นแบบ “ดิบๆ” ที่สื่ออารมณ์ได้ดี ใบหน้าผู้คนพร่าเลือนราวกับจะตอกย้ำว่าพวกเขา “ไม่มีตัวตน” สำหรับอภิสิทธิ์ชนที่ครองอำนาจทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันลายเส้นก็แสดงรายละเอียดของตึกรามบ้านช่อง สถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯ แต่ละยุคสมัยได้อย่างชัดเจน เห็นชัดว่าทำการบ้านมาดีมาก “…อ่านต่อ
สฤณี อาชวานันทกุล


“Ta Sawang (Il Re di Bangkok, 2020), a melancholic graphic novel written by Claudio Sopranzetti and Chiara Natalucci, and illustrated by Sara Fabbri, is one of the first creative endeavours truly to inhabit that time. Told through fevered flashbacks, the story blends typical comic-strip action with abrupt about-turns into freewheeling surrealism, all in an attempt to capture the joys and paroxysms of the disenfranchised rural-to-urban migrant trying to make ends meet. In its opening pages, our fictional male protagonist, Nok, arrives at Bangkok’s main train station, Hua Lamphong, from the northeast – the oft-belittled region from which the majority of the capital’s millions of internal migrants hail – only to quickly come a cropper. An amenable relative and a job in a shoe factory prove short-lived, and before long he’s sprawled on a bench, staring up wistfully at a billboard for Luk Isan (Son of the Northeast) as he pines for home. “…อ่านต่อ
Max Crosbie-Jones


“Ta Sawang (Il Re Di Bangkok), written by Claudio Sopranzetti and Chiara Natalucci, and illustrated by Sara Fabbri, is a graphic novel of an eerie power as the protagonist’s journey doubles as a narrative of Thailand’s social and political history. Sopranzetti is an Italian anthropologist whose recent study on Thai motorcycle taxi drivers and their role in street politics is acclaimed for its scholastic scrutiny of seemingly ordinary, often taken-for-granted urban workers. In Ta Sawang, which means “seeing light” or “eyes wide open”, he turns his 10-year-long anthropological research and oral interviews into a semi-fictitious narrative in which the destiny of the main character is influenced by key political happenings in Thailand, with the climax set during the May 2010 crackdown on red-shirt protestors, an event which marks its 10th anniversary this month.”…อ่านต่อ
Kong Rithdee


“ส่วนที่ทรงพลังที่สุดในงานชิ้นนี้ไม่ใช่สิ่งที่พูดได้ แต่คือสิ่งที่พูดไม่ได้”…อ่านต่อ
Filmsick


“พลันที่อ่านนิยายภาพเล่มนี้จบ ผมหลับตา ไม่ใช่เพราะเหนื่อยล้าจากการอ่าน แต่เป็นอารมณ์โหวงๆ ซึมๆ คล้ายตอนเดินออกจากโรงหนังทั้งที่ตอนจบยังคาใจ”…อ่านต่อ
พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล


“ตาสว่าง : หนังสือที่ชวนเพ่งมองการเมืองผ่านสายตาอันมืดบอดของสามัญชน”…อ่านต่อ
อชิตพนธิ์ เพียรสุขประเสริฐ


“ถ้าคุณอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่จบ อย่าเพิ่งอ้าปากวิจารณ์มัน ปกหลังบอกว่า – เขากลับพบว่า ประเทศที่ตนอาศัยอยู่ช่างมืดมน ไม่มีทางออก ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีสิ่งซึ่งสามารถไว้วางใจ ทุกสิ่งที่เคยมองเห็น ล้วนแต่เป็นเพียง ‘ภาพลวงตา’ . และภาพลวงตานั่นเอง – ที่คือความจริง”…อ่านต่อ
โตมร ศุขปรีชา


“หนังสือนวนิยายภาพที่ชื่อว่า ‘ตาสว่าง’ ใช้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากการค้นคว้าของ คลาวดิโอ โซปรันเซ็ตติ (Claudio Sopranzetti) นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มานำเสนอใหม่ เขาใช้เวลาหลายปีในการศึกษาการเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองไทยในยุคสีเสื้อ (2006-2014) จนปรากฏออกมาเป็นงานเลื่องชื่อ”…อ่านต่อ
อิทธิพล โคตะมี


“เป็นเวลากว่าทศวรรษแล้วที่การเมืองไทยอยู่ในภาวะของการแบ่งฝักฝ่ายอย่างชัดเจน ความพยายามในการแข่งขันแย่งชิงอำนาจนำได้ทำให้ตัวแปรอย่างประชาชนตระหนักถึงเสียงของตนในการต่อรองมากขึ้น เมื่อสมการแบบเก่าไม่สามารถรักษาสมดุลได้ ภูมิทัศน์ของสังคมก็เปลี่ยนแปลงกลายเป็นทัศนียภาพแปลกตา อะไรที่ไม่เคยเห็นก็ได้เห็น และมีผู้คนมากมายได้รับผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการมองเห็นและไม่เห็น”…อ่านต่อ
แมท ช่างสุพรรณ


“อ่านจบแล้วจุก…พูดไม่ออกเลยทีเดียว ความเหลื่อมล้ำมันค้ำคอ คือเล่มนี้มันสะท้อนปัญหาสังคมหลายอย่างที่หลายคนเคยอาจผ่านตาบนโลกโซเชียลมาบ้าง #ตาสว่าง ทำให้เราเห็นถึงปัญหามากมายที่สะสมและตกค้างอยู่ในการเมืองและสังคมไทยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสังคมในกรุงเทพฯ คนที่แทบไม่มีจะกินก็จนกันอยู่แบบนั้น คนที่รวยก็รวยกระจุกกันอยู่แค่นั้นจริงๆ คนที่แทบไม่มีจะกินนั้นต่างก็ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมเพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองและมีสิทธิมีเสียงในสังคม แต่ซ้ำร้ายก็ยังมีคนหวงอำนาจและพยายามกดขี่คนเหล่านั้นให้จมมิดอยู่เป็นระลอก เฮ้อ! สังคมไทย”…อ่านต่อ
Hon – goodreads


“ใครอินการเมืองแล้วไม่อ่านบอกเลยว่าพลาดมาก แบบมาก เล่มนี้เหมือนดูหนังดีๆ สักเรื่องในรูปแบบของ graphic novel (เราไม่เคยดูหนังที่เล่าถึงคนเสื้อเหลืองเสื้อแดงแล้วรู้สึกว่าทำออกมาได้สนุกเลย เพิ่งมีเล่มนี้) คนทำ+คนวาดเขาเขียนเก่งจนตอนที่เราอ่าน เรามีเสียงในหัวครบเลยทั้ง ambient และ soundtrack เพลงที่เขาน่าจะใช้ประกอบ คิดว่าเพราะการที่เราเป็นคนกรุงเทพที่เดินถนน ใช้วินมอเตอร์ไซค์ นั่งรถเมล์ เดินผ่านตลาดและชุมชนแออัดในชีวิตประจำวัน คงมีส่วนที่ทำให้อินมากขึ้นด้วย”…อ่านต่อ
Oil Woramon


ลองอ่าน

Excerpt_RE